สาเหตุของผมร่วง เกิดจากหลายปัจจัย
ภาวะผมร่วง และผมบางลง แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่1: ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม
ผมร่วงเป็นหย่อม
เป็นโรคผมร่วงที่พบบ่อย ร่วงปริมาณมากในเวลารวดเร็ว ร่วงเป็นหย่อมอย่างเฉียบพลัน
มักร่วงเป็นวงกลมหรือวงรี 1 วง หรือหลายวง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่เกือบ 1
ซม. จนถึงขนาดใหญ่หลาย ๆ ซม.ได้
โดยร่วงจากตรงกลางแล้วขยายวงออกไปเรื่อยๆ พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 80
เกิดในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 40 ปี
เกิดตำแหน่งใดก็ได้ที่มีขน ถ้าพบร่วงหมดทั้งศีรษะและขนคิ้วด้วย จะเรียกว่า Alopecia
totalis ส่วน Alopecia universalis เป็นระยะสุดท้ายของโรคที่ร่วงหมดทั้งตัว
(complete hair loss) โดยสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยปกติ
แต่ผมร่วงมีผลกระทบต่อจิตใจผู้ป่วยได้
ผมร่วงเป็นหย่อมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ผมร่วงเป็นหย่อมชนิดไม่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ ที่พบบ่อยๆ คือ
1.1 ผมร่วงเป็นหย่อมจากเชื้อรา
ผมจะร่วงเป็นกระจุก ผิวหนังในบริเวณที่ผมร่วงจะมีขุยหรือสะเก็ด บางครั้งมีผื่นแดง
การรักษาต้องใช้ยารับประทาน ยาทาไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมด
1.2 ผมร่วงเป็นหย่อมจากการดึงผมตนเอง
พบมากในเด็กที่มีความเครียด เมื่อไม่มีทางระบายออกจึงดึงผมตนเอง
เมื่อใช้มือลองดึงเส้นผมดูเส้นผมจะไม่หลุดติดมือออกมาง่ายๆ เหมือนโรคผมร่วงจากเชื้อรา
การรักษาต้องอาศัยความเข้าใจพยาธิกำเนิดของโรค และเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย
อาจควรปรึกษาจิตแพทย์ร่วมในกระบวนการดูแลรักษาด้วย นอกจากนี้การทายาครีมสเตียรอยด์
ร่วมกับรับประทานยาต้านฮีสตามีนจะช่วยให้อาการดีขึ้น
1.3 ผมร่วงเป็นหย่อมจากโรคภูมิแพ้รากผม ผู้ป่วยจะมีภาวะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายรวน
มีเซลล์เม็ดเลือดขาวมารบกวนรากผมทำให้เซลล์รากผมหยุดทำงาน เส้นผมจะหายไปเป็นหย่อมๆ
ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีเส้นผมจะเรียบไม่พบตอ เส้นผมหักหรือเป็นตุ่มที่ผิวหนัง
ภาวะนี้จะต่างจาก 2 โรคข้างต้น โดยทั่วไปอาจพบผมหลุดร่วงเป็นหย่อมเดียวหรือหลายหย่อม
ในรายที่อาการรุนแรงผมจะร่วงทั้งศีรษะ
และถ้ารุนแรงที่สุดผมและขนตามตัวจะร่วงหมดเหมือนพญาไร้ใบ การรักษา
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
2. ผมร่วงเป็นหย่อมชนิดที่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคฝีหนองบนศีรษะ เชื้อกลากที่ศีรษะชนิดที่มีการอักเสบรุนแรง
แผลไฟไหม้น้ำร้อนรวก โรคดี แอล อี ที่หนังศีรษะ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่รากผมจะถูกทำลายอย่างมาก
จนไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่มาทดแทนเส้นผมเดิม และเกิดพังผืดในชั้นหนังแท้ร่วมด้วย การรักษา
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
กลุ่มที่2: ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ ที่พบบ่อยๆ คือ
2.1 ภาวะที่มีการหลุดร่วงของผม ในระยะ Telogen stage มีผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้เส้นผมบนศีรษะเปลี่ยนจากระยะเติบโตไปเป็นระยะหยุดเจริญเติบโต
ผมจึงหลุดร่วงมากผิดปกติ พบร่วงทั่วๆไปไม่รุนแรงโดยมีสาเหตุนำมาก่อน 6-16 สัปดาห์ สาเหตุหลักคือความเจ็บป่วยหรือภาวะเครียด
นอกจากนี้ยังพบในสตรีหลังคลอดบุตร
ซึ่งมีผลต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้
2.2 ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะจากการติดเชื้อซิฟิลิสระยะที่ 2 ผมจะร่วงเป็นหย่อมๆ
ทั่วศีรษะคล้ายมอดแทะ การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องอาศัยการตรวจเลือด
2.3 ภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศ
ผู้ป่วยจะเกิดอาการรากผมค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ลักษณะของเส้นผมจะเล็ก และบางลง
โดยเส้นผมเปลี่ยนจาก Terminal hair เป็น Vellus hair และลีบฝ่อลง
จนเห็นหนังศีรษะเรียบเป็นมัน Hair-pull และ Hair-pluck
ปกติ
- เพศชาย มีปัญหาผมร่วงบางศีรษะล้านแบบค่อยเป็นค่อยไป (Progressive
balding) มักมีประวัติคนในครอบครัวที่ผมบางหรือศีรษะล้าน
ตำแหน่งและการกระจายเริ่มจากหน้าผากมีการร่วมของแนวผมด้านหน้า โดยเฉพาะมุมด้านข้าง
ทำให้เห็นเป็น M-shaped recession ต่อมา
บางที่บริเวณกระหม่อมและขยายออกโดยรอบ
จนในที่สุดผมบนหนังศีรษะหายหมดเหลือเฉพาะด้านข้างขมับและท้ายทอย
- เพศหญิง มักจะสัมพันธ์กับประวัติคนในครอบครัวฝ่ายมารดาที่ศีรษะล้าน
ผมที่ร่วงปริมาณไม่มากเป็นไปอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง ตำแหน่งและการกระจาย
ผมจะบางลงบริเวณกลางศีรษะ และกระจายทั่วด้านบนหนังศีรษะ โดยที่แนวผมด้านหน้ายังคงเป็นปกติ
จนในที่สุดผมจะร่วงมากเป็นพิเศษบริเวณกลางศีรษะมาจนถึงส่วนหน้าผาก
การรักษา: ยาที่ได้รับการยืนยันว่าได้ผลคือยารับประทาน Finasteride ที่ยับยั้ง
Enzyme 5 alpha reductase ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยน
Testosterone ให้เป็น Dihydrotestosterone (DHT) และร่วมกับการใช้ยา Minoxidil สามารถช่วยลดอัตราการร่วง
และปริมาณของผมแน่นขึ้น ได้ผลดีกว่าการรักษาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
1. Minoxidil มีทั้งชนิดทาและรับประทาน
2. ยา Finasteride 1 mg/day ผู้ป่วยต้องใช้ยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 1 ปี
3. ยา Spironolactone เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ลดความดันเลือด มีฤทธิ์ต้านการทำงานของฮอร์โมน Androgen ทำให้เส้นผมไม่เปลี่ยนไปเป็นเส้นผมขนาดเล็ก
ภาวะผมร่วง ศีรษะบาง ล้าน มีสาเหตุและปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ
การดูแลรักษาควรตรวจหาสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน