Share on
ผมร่วงหนักมากในผู้หญิง! สาเหตุอะไร ทำไมถึงหยุดไม่อยู่
ผู้หญิงหลาย ๆ ท่านน่าจะประสบกับปัญหานี้กันอยู่ใช่ไหมคะ? ผมร่วงเยอะ แสกกว้าง หัวเถิก ปัญหาผมร่วงทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการหวีผม หรือแค่สางผมธรรมดาผมก็ร่วงติดมือออกมาแล้ว หรือบางครั้งหลาย ๆ ท่านอาจจะเคยสระผมแล้วผมร่วงจนท่อน้ำตัน แล้วแบบนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าผมเราร่วงผิดปกติหรือไม่ ? เพื่อให้คุณมีเส้นผมที่หนาและสุขภาพดี วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุของผมร่วงในผู้หญิง และวิธีการดูแลเส้นผมให้กลับมาสวยสุขภาพดีอีกครั้ง
ทำไมผมถึงร่วง?
วงจรชีวิตของเส้นผมประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะเจริญเติบโต (Anagen phase) ระยะพัก (Catagen phase) และระยะหลุดร่วง (Telogen phase) ในระยะหลุดร่วงเส้นผมจะร่วงได้ประมาณ 10% ของจำนวนเส้นผมและระยะนี้มักจะกินเวลาประมาณ 2-3 เดือน
รู้หรือไม่ว่า…โดยปกติแล้ว คนเรานั้นมีเส้นผมโดยเฉลี่ยประมาณ 100,000 เส้น ดังนั้นในคนปกติแล้ว จึงพบว่าเส้นผมจะมีโอกาสหลุดร่วงได้ประมาณวันละ 50-100 เส้น และสามารถมีเส้นผมใหม่เกิดขึ้นมาแทนเส้นผมเดิมได้ หรือสังเกตผมร่วงตอนที่สระผมไม่ควรเกิน 200 เส้น ถือว่าเป็นเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าหากผมร่วงมากเกินไป หรือสังเกตเห็นผมร่วงเป็นกระจุก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น สาเหตุของผมร่วงในผู้หญิงมีหลากหลาย ดังนี้
- กรรมพันธุ์
เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยที่สุด ถ้าหากครอบครัวของคุณมีเคยมีประวัติผมบาง ผมเถิก คุณก็อาจมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเหล่านี้ได้เช่นกันในอนาคต - ฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอด หรือวัยหมดประจำเดือน - พฤติกรรมการใช้ชีวิต
พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เราใช้อยู่ทุกวัน อาจส่งผลต่อเส้นผมโดยไม่รู้ตัวและสะสมมาเรื่อย ๆ จนเกิดภาวะผมร่วง ผมบางในที่สุด เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด การใช้สารเคมีกับเส้นผม การทำสีผมบ่อยเกินไป หวีผมผิดวิธี รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์และการขาดสารอาหารสำคัญ เช่น โปรตีน เหล็ก และวิตามินบี - ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
การใช้ยาในบางชนิด อาจส่งผลเสียหรือได้รับผลข้างเคียงทำให้เกิดปัญหาผมร่วง ผมบางได้ เช่น กลุ่มยารักษาสิว ยาฆ่าเชื้อ ยาต้านแข็งตัวของเลือด กลุ่มยาจำพวกนี้อาจรบกวนการทำงานของต่อมไขมันหรือระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เส้นผมอ่อนแอ จนเกิดปัญหาผมบางได้ในที่สุด - โรคประจำตัว
โรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ โรคโลหิตจาง ส่งผลต่ออาการผมร่วง ผมบางได้ - ไทรอยด์ฮอร์โมน
การทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ส่งผลทำให้เส้นผมร่วงมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะผมบางตามมาฃ
ผมร่วงแบ่งออกเป็นกี่ระดับ?
ผมบางในผู้หญิงนั้นจะแบ่งตามความรุนแรงของความบาง แบ่งออกเป็น 3 ระดับตาม The Ludwig-savin Scale คือ
- ระดับ 1: ในระยะเริ่มแรกนั้นจะสังเกตว่าจะมีผมบางเพียงเล็กน้อยตรงรอยแสก หรือผมบางบริเวณกลางศีรษะเพียงเล็กน้อย
- ระดับ 2: ระยะนี้ผมจะเริ่มบางปานกลางตรงกลางหัว จนสามารถมองเห็นหนังศีรษะได้
- ระดับ 3: ในระยะนี้ถือว่าเป็นระยะที่เริ่มรุนแรงแล้ว ผมจะบางมากจนเห็นหนังศีรษะได้อย่างชัดเจน
วิธีป้องกันแก้ไขปัญหาผมร่วง
โดยปกติแล้วหากเริ่มมีภาวะอยู่ในระดับ 2 ขึ้นไป อาจจะต้องเร่งหาทางแก้ไข หรือปรึกษาแพทย์ด้านผิวหนังหรือเส้นผม เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาผมร่วงได้อย่างแม่นยำและให้คำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วยค่ะ นอกเหนือจากนี้การรักษาผมร่วงควรทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อได้รับการรักษาที่ดีมากยิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนสูง: การใช้ไดร์เป่าผม เครื่องม้วนผม หรือเครื่องหนีบผมในอุณหภูมิสูงบ่อยครั้ง อาจทำให้เส้นผมแห้งเสียและร่วงได้ง่ายขึ้น
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่อ่อนโยน: หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: เน้นอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุครบถ้วน เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ และไข่
- พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ส่งผลให้รากผมแข็งแรงขึ้น
- ลดความเครียด: ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมร่วง ดังนั้นควรหาทางผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การฟังเพลง หรือการทำกิจกรรมที่ชอบ
การดูแลเส้นผมและจัดการกับปัญหาผมร่วงนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักประสบปัญหานี้อยู่ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ด้านเส้นผมเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม การได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยให้ได้รับการรักษาผมได้อย่างตรงจุดและกลับมามีผมที่แข็งแรงพร้อมใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้งค่ะ
ปรึกษาปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านกับทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์ที่ศูนย์การแพทย์ธนบุรีได้ ฟรี!
LINE: @tmc.center
Tel: 02-466-9955 | 02-465-9822
Facebook: ศูนย์การแพทย์ธนบุรี Thonburi Medical Center
Instagram: Thonburi Medical Center
Category: article
Tags:
ผมร่วง
ผมบาง
ปลูกผม ผู้หญิง