ผิวหนังและความงาม

โปรแกรมรักษาผิวหน้า สิว หลุมสิว รอยดำ รอยแผลเป็น ฝ้า กระ ผิวหมองคล้ำ โรคผิวหนังทั่วไป และความงาม
เวลาทำการ
  • วันจันทร์-วันเสาร์
    11:00 - 19:00 น.
    หยุดวันอาทิตย์
    แพทย์ออกตรวจเวลา
    15:30 - 19:00 น.
Contact Info

รักษาโรคผิวหนัง เซ็บเดิร์ม สะเก็ดเงิน และกลาก

รักษาโรคผิวหนัง เซ็บเดิร์ม สะเก็ดเงิน และกลาก

รักษาโรคผิวหนัง เซ็บเดิร์ม สะเก็ดเงิน และกลาก

โรคเซ็บเดิร์ม สะเก็ดเงิน และกลาก เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในสังคมไทย โรคดังกล่าวมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ปัญหาผิวหนังถือเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และความมั่นใจ เนื่องจากเป็นส่วนแรก ๆ ที่คนภายนอกจะสังเกตเห็นได้ง่าย หากมีอะไรเกิดขึ้นกับผิว โดยเฉพาะผิวที่ไม่เรียบเนียน เป็นผื่นคัน บวม แดง ลอกเป็นขุย ยิ่งทำให้เกิดความกังวลและอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ โดยในแต่ละโรคนั้น มีลักษณะอาการและรอยโรคแตกต่างกันไป

ทำความรู้จักกับ ”โรคเซ็บเดิร์ม”

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งหรือผื่นแพ้ต่อมไขมัน เป็นโรคทางผิวหนังที่พบมากในปัจจุบันเกิดจากภาวะที่ต่อมไขมันเกิดการอักเสบ เซ็บเดิร์มจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีความมัน มีต่อมไขมันอยู่มาก และสามารถลุกลามไปทั่วร่างกายได้ เช่น ใบหน้า หลัง หน้าอก จมูก หนังศีรษะ รอบสะโพก และขาหนีบ โดยบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นบริเวณศีรษะและลุกลามไปยังหลังและหน้าอก 

เซ็บเดิร์มนั้นถือเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรงมากนัก แต่สร้างความรำคาญใจได้ไม่น้อยจากอาการที่เป็น โดยอาการของเซ็บเดิร์มมีลักษณะ ดังนี้

  • ผิวมันเป็นแผ่น ปกคลุมด้วยสะเด็ดสีขาวหรือเหลือง
  • ผื่นแดง ผิวหนังลอกเป็นขุย แสบและคัน
  • เปลือกตาอักเสบ แดง หรือมีสะเก็ดแข็ง
  • อาจมีอาการผมร่วงร่วมด้วย
  • อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นหากมีความเครียด
  • มักจะมีอาการรุนแรงขึ้นในฤดูหนาวและฤดูร้อน 

            ลักษณะรอยโรคเซ็บเดิร์มบริเวณเปลือกตา             ลักษณะรอยโรคเซ็บเดิร์มบริเวณไรผม                     ลักษณะรอยโรคเซ็บเดิร์มบริเวณใบหน้า     

โรคเซ็บเดิร์มนั้นเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด หากคนไข้รักษาจนอาการดีขึ้น ให้หลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ พยายามรักษาสุขภาพจิตใจให้ไม่เครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลล์ เพื่อเสรีมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้ง่าย

ทำความรู้จักกับ ”โรคสะเก็ดเงิน”

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อย ลักษณะของโรคที่สังเกตได้ง่ายคือจะมีผื่นแดงค่อนข้างหนาและเป็นขุยสีขาว คล้ายรังแคที่ผิว ผื่นสะเก็ดเงินมักเริ่มต้นที่ศีรษะ ก่อนจะกระจายไปส่วนอื่น ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณข้อศอกและเข่า หรือบริเวณที่มีการเกาหรือเสียดสี โดยโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่มีการติดเชื้อและไม่แพร่เชื้อเมื่อสัมผัส ถึงโรคสะเก็ดเงินจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาและสามารถทำให้โรคสงบได้ โดยความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ

อาการของโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่

  • ผื่นหนาสีแดง มีขอบชัดเจน และมีขุยหนากระจายตามบริเวณลำตัว ต้นแขน และขา
  • ผื่นเป็นตุ่มหนองตื้นบนรอยโรคสีแดง
  • ผิวแห้งจนอาจแตกและมีเลือดออก และอาจมีอาการเจ็บคันและแสบร้อนบริเวณผิวหนัง
  • มีผื่นแดงอักเสบบริเวณซอกรักแร้ ซอกขา หรืออาจมีผื่นแดงลอกทั้งลำตัว
  • มักพบความผิดปกติของเล็บ เช่น เล็บเป็นหลุม เล็บร่อน และเล็บหนาตัวขึ้น
  • อาจมีอาการปวดและมีอาการบวมตามข้อต่อ

            ลักษณะรอยโรคสะเก็ดเงินบริเวณร่างกาย                    ลักษณะรอยโรคสะเก็ดเงินบริเวณฝ่ามือ                      ลักษณะรอยโรคสะเก็ดเงินบริเวณศีรษะ              

ทำความรู้จักกับ ”โรคกลาก”

โรคกลาก (Ringworm) เป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนัง สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคกลากสามารถขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และขาหนีบ มีลักษณะเป็นวงกลมขอบแดงบนผิวหนัง สามารถกระจายและขยายได้ โดยผิวหนังตรงกลางวงกลมจะมีสีผิวปกติ

อาการของโรคกลาก กลากในแต่ละบริเวณที่เป็นบนร่างกายจะมีอาการแตกต่างกัน

  • กลากที่หนังศีรษะ มักทำให้หนังศีรษะตกสะเก็ดเป็นจุดเล็ก ๆ เจ็บเมื่อสัมผัส ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ คันหนังศีรษะ บางรายอาการรุนแรงอาจมีตุ่มหนองเล็ก ๆ มีสะเก็ดแห้ง และผมร่วงจนศีรษะล้านเป็นหย่อม
  • กลากที่ร่างกายและผิวหนังทั่วไป มักทำให้เกิดอาการคัน แดง ระคายเคืองรอบวงกลาก ในกรณีที่รุนแรง อาจมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นรอยนูนขึ้นมา และอาจมีตุ่มพอง ตุ่มหนองรอบวง
  • กลากที่เท้า ที่รู้จักในชื่อน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต ทำให้เกิดอาการแห้ง คัน มีผื่นแดงเป็นแผ่นบริเวณง่ามนิ้ว
  • กลากบริเวณขาหนีบหรือโรคสังคัง มักเกิดเป็นสีน้ำตาลแดง อาจมีอาการเจ็บ เกิดตุ่มพองหรือเป็นตุ่มหนองรอบ ๆ มีอาการคันและแดง
  • กลากที่ใบหน้าและลำคอ กลากบริเวณนี้จะไม่ปรากฏเป็นดวงเหมือนกลากชนิดอื่น ๆ แต่เกิดอาการคัน บวม และแห้งเป็นสะเก็ด
  • กลากที่มือ ทำให้ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและง่ามนิ้วหนาขึ้น
  • กลากที่เล็บ อาจทำให้เจ็บปวดและระคายเคือง เล็บมือที่ติดเชื้อราจะดูขาว ขุ่นทึบ หนา และหักง่าย แต่หากเกิดขึ้นที่เล็บเท้าจะมีสีออกเหลือง หลา และแตกหักง่าย

            ลักษณะรอยโรคกลากบริเวณลำตัว    
             ลักษณะรอยโรคกลากบริเวณศรีษะ    
               ลักษณะรอยโรคกลากบริเวณฝ่าเท้า      


โรคเซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงิน โรคกลาก ต่างกันอย่างไร ?
โรคเซ็บเดิร์ม
โรคสะเก็ดเงิน
โรคกลาก
  • ส่วนใหญ่มักจะพบรอยโรคบริเวณศีรษะ ใบหน้า ระหว่างคิ้ว ร่องจมูก (บริเวณที่เกิดความมัน)
  • รอยผื่นของโรคมีความเปียก มัน
  • มีลักษณะเป็นขุยเล็ก ๆ สีเหลือง ขาว
  • ไม่ใช่โรคติดต่อ
  • ส่วนใหญ่มักจะพบรอยโรคตามลำตัว ข้อพับ ข้อศอก ข้อเข่า (บริเวณที่เกิดการเสียดสีบ่อย)
  • รอยผื่นของโรคจะเป็นสะเก็ดสีเงิน วาว แห้ง แตก
  • มีลักษณะเป็นขุยหนา ลูบแล้วรู้สึกนูนขึ้นมา 
  • ไม่ใช่โรคติดต่อ
  • กลากสามารถเกิดได้ทุกที่ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณที่มีความอับชื้น (แต่ละบริเวณมีอาการไม่เหมือนกัน)
  • รอยผื่นของโรคมีความชื้น 
  • มีลักษณะนูน แดงเป็นวงกลม คัน ตรงกลางของวงมีลักษณะเป็นผิวหนังปกติ
  • เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัส
  • มักจะเกิดในเด็กเล็ก หรือคนชรา

เมื่อเรารู้ถึงลักษณะอาการและความแตกต่างของโรคแล้ว เราก็สามารถจำแนกโรคได้และเริ่มรักษาได้อย่างตรงจุด ในบางโรคก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือในบางโรคก็รักษาไม่ให้ลุกลาม หรือแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตามเราก็ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อไม่ให้โรคนั้นเกิดขึ้น หรือกลับมาเป็นซ้ำได้ง่าย

วิธีการรักษา

  • ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค โดยกรณีไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำใช้ยาทาและยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรค ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มักมีการใช้ยาฉีดร่วมด้วย
  • ดูแลผิวให้ชุ่มชื้นด้วยผลิตภัณฑ์ใช้ภายนอก แชมพูขจัดรังแค โลชั่น ที่อ่อนโยน 
  • รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นอยู่เสมอ
  • ขจัดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดการระคายเคืองบริเวณผิวที่เป็น หลีกเลี่ยงการเกา

ขั้นตอนในการเข้ารักษาที่ศูนย์การแพทย์ธนบุรี
    • ปรึกษาเบื้องต้น

      สามารถปรึกษาเราได้เบื้องต้น โดยส่งภาพปัญหาที่เป็นกับศูนย์การแพทย์ธนบุรี ผ่านช่องทาง LINE Official Account (LINE ID: @tmc.center) โดยสามารถให้คำปรึกษา นัดหมายคิว ดูแลติดตามผลลูกค้าอย่างใกล้ชิด

    • นัดหมายคิวเพื่อปรึกษาแพทย์

      แพทย์จะทำการประเมิน เพื่อได้หนทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่เป็น

    • ตรวจเช็คผลลัพธ์

      โดยส่วนมากแล้วโรคทางผิวหนังจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามผลลัพธ์ของท่านอย่างใกล้ชิด 

    รีวิวผลลัพธ์การรักษา



    ปรึกษาแพทย์ฟรี! ราคาเริ่มต้น 2,000 บาท

    สามารถนัดปรึกษาแพทย์และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Thonburi Medical Center

      LINE: @tmc.center    
      Tel: 02-466-9955 | 02-465-9822
      Facebook: ศูนย์การแพทย์ธนบุรี Thonburi Medical Center


    เพราะความสุขของคุณ...คือความสุขของเรา
    ศูนย์การแพทย์ธนบุรี ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมให้การบริการที่อบอุ่นเอาใจใส่และได้มาตรฐาน
    TMC LINE
    TMC FACEBOOK